วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พระกริ่ง ยอดมงคลของผู้มีบุญ

ประวัติการสร้าง"พระกริ่ง" เริ่มขึ้นที่ประเทศทิเบต และจีน จึงเรียกติดปากว่า พระกริ่งทิเบตและพระกริ่งหนองแส พระกริ่งเป็นพระพุทธเจ้าปางมาช่วยโปรดสัตว์โลกหรือเรียกกันว่า "พระไภสัชคุรุ" เป็นพระพุทธเจ้าปางหนึ่งของลัทธิมหายานซึ่งหมายความว่า ทรงเป็นครูในด้านเภสัช คือ การรักษาพยาบาล ต่อมาได้แพร่หลายมาก นิยมสร้างในเขมรเรียกว่า พระกริ่งอุบาเก็ง หรือพระกริ่งพนมบาเก็ง และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์ 



พระกริ่ง


ตามความเชื่อโบราณาจารย์จึงนิยมนำพระกริ่งอธิษฐานแช่น้ำทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์แล้วดื่มกินด้วยความเชื่อว่า จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ นอกจากนี้ ยังมีพุทธานุภาพช่วยขจัดอันตรายทั้งหลายทั้งปวง เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย ต่างๆ อธิษฐานปรารถนาโชคลาภสิ่งใดย่อมจะสำเร็จดังมโนรถทุกประการ ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมสร้างรูปจำลองของพระพุทธองค์ขึ้นมา โดยมีการบรรจุเม็ดกริ่งเป็นเม็ดโลหะเล็กๆ ไว้ภายในองค์พระ เพื่อที่จะเขย่าให้เกิดเสียงดัง เวลาสวดมนต์ขอพรจากพระพุทธองค์จะทรงได้ยินและเสด็จลงมาช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ให้ พระกริ่งมี ๓ ขนาดคือขนาดใหญ่ สำหรับบูชาประจำบ้าน ขนาดเล็ก สำหรับทำน้ำมนต์และบูชาห้อยติดตัว ขนาดจิ๋วสำหรับบูชาติดตัว นิยมเรียกว่า พระชัยหรือพระชัยวัฒน์ (ไม่บรรจุกริ่งเพราะมีขนาดจิ๋ว) 
 พระกริ่งนิยมสร้างด้วยนวโลหะ หรือโลหะทั้ง ๙ ชนิด คือ ทองคำ เงิน ทองแดง พลวง ดีบุก สังกะสี ชิน ปรอท เจ้าน้ำเงิน ตามตำราของโบราณาจารย์ที่นับถือว่าเป็นโลหะศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเมื่อโลหะทั้ง ๙ รวมตัวกันแล้วจะเกิดพุทธคุณสรรพคุณทางยาโดยนำพระกริ่งมาแช่ในน้ำสะอาด ๑ ชั่วยาม (๔ ชั่วโมง) จึงจะออกฤทธิ์ ต้องวางพระกริ่งไว้ในน้ำที่สงบนิ่ง ห้ามสะเทือนแล้วนำมาอธิษฐานดื่มกินหรืออาบ ฉะนั้น พระกริ่งจึงมีพระพุทธคุณความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และสรรพคุณทางโลหะโอสถที่ได้จากนวโลหะอันศักดิ์สิทธิ์ 

ในปัจจุบัน "พระกริ่งฤกษ์นเรศวร" เป็นพระที่สร้างในฤกษ์ที่เหมาะกับการนำมาบูชาติดตัวในยุคปัจจุบันมากที่สุด เนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ค้าขายฝืดเคือง


พระกริ่งฤกษ์นเรศวร







เพราะพระกริ่งของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ที่ท่านสร้างนั้นท่านเน้นเป็นอย่างมากเรื่องฤกษ์ผานาทีท่านจะคำนวนฤกษ์ ท่านต้องคำนวนเวลาจากสถานที่นั้น เพื่อให้อำนาจแห่งดวงดาวได้ทำมุมกับสถานที่ตำแหน่งนั้น อีกทั้งท่านยังคำนวนด้วยความแม่นยำชนิดที่เรียกได้ว่าเป็นวินาทีเลยทีเดียว เมื่ออาจารย์เทพย์ท่านคำนวนฤกษ์ได้ที่ชัดเจนแล้วท่านก็จะทราบความสำคัญของฤกษ์นั้นด้วย ท่านทราบว่าฤกษ์ที่สร้างนี้จะส่งผลด้านไหนท่านก็จะตั้งชื่อหรือทำสูจิบัตรบอกความสำคัญหมายว่าเมื่อนำไปใช้จะได้ใช้ถูกต้อง เช่นหากใครต้องการอานุภาพในการขจัดอุปสรรคท่านก็จะให้พระกริ่งนี้ไป หรือถ้าเปิดกิจการใหม่หรือหากต้องทำการใดก็ตามที่มุ่งหมายความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ท่านจะก็จะมอบพระกริ่งฤกษ์นเรศวรนี้ให้ไปบูชา นับได้ว่าพระกริ่งฤกษ์นเรศวรนี้มีความสำคัญและเป็นเป็นที่ยอมรับระดับสูงอีกรุ่นหนึ่ง


พระกริ่งที่หล่อขึ้นมานั้นเรียกว่า ฤกษ์นเรศวร

พระกริ่งฤกษ์นเรศวร เกิดจากการนำนิมตรฤกษ์ในลิลตตเลงพ่าย ของสมเด้จพระนเรศวรเจ้า ก่อนที่จะทรงเสด็จออกกระทำยุทธหัตถี ต่อสมเด็จพระมหาอุปราชา โดยคำว่าที่มาฤกษ์นเรศวร มี 4 อย่างที่สำคัญ เรียก จตุรงคโชค คือโชคประกอบด้วยองค์สี่ ซึ่งโหรคำนวณได้ตกที่ดีสี่ประการ คือ

1. โชคดี เพราะไม่ทันได้ยกทัพไปตีเขมร
2. วันเดือนปีดี เพราะเตรียมจะไปตีเขมรอยู่แล้ว
3. กำลังทหารเข้มแข็ง เพราะเตรียมจะไปตีเขมรอยู่แล้ว
4. เสบียงอาหารบริบูรณ์ เพราะเตรียมจะไปตีเขมรอยู่แล้ว

อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ใช้โชคที่ดี 4 อย่างในการกำหนดฤกษ์ในการเทพระกริ่งฤกษ์นเรศวรขึ้น ให้ประกอบด้วย

1. อุดมไปด้วยโชคที่ดี 
2. ใช้ฤกษ์ในการเทเป็นวันดี ประกอบด้วยชัยชนะต่อศัตรูทั้งหลาย
3. ให้มีกำลังที่ดี 
4.และให้มีความบริบูรณ์


กล่าวคือท่านให้ความหมายในการสร้างที่เกี่ยวข้องกับความโชคดี วันเวลาดี กำลังแข็งกล้า และอุดมสมบูรณ์ แก่ผู้ครอบครอง จึงเป็นที่มาต่อพระกริ่งฤกษ์นเรศวรนี้

ท่านอาจารย์เทพย์ ท่านชอบสร้างพระโดยเฉพาะพระกริ่ง เพราะนอกจากเขย่ามีเสียงกริ่ง อีกสิ่งนึงที่ท่านอาจารย์ได้ให้มีความว่า "กุศลอันใดหนอ คนที่มีพระกริ่งจึงนับว่าเป็นผู้มีบุญมีกุศล"
(อ้างอิงในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น