หนุมานแผลงฤทธิ์

                         หนุมาน

เป็นลิงเผือก (กายสีขาว) มีลักษณะพิเศษคือ มีเขี้ยวอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเพชร สามารถแผลฤทธิ์ให้มี ๔ หน้า ๘ มือ และหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ ตรีเพชร (สามง่าม) เป็นอาวุธประจำตัว (จะใช้เมื่อรบกับยักษ์ตัวสำคัญๆ) มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกาย หายตัวได้ ทั้งยังอยู่ยงคงกระพันแม้ถูกอาวุธของศัตรูทำร้ายจนตาย เมื่อมีลมพัดก็จะฟื้นขึ้นได้อีก

หนุมาน (เทพอินเดีย)
หนุมาน เป็นเทพลิงที่มีความสามารถในการเรียนรู้ ว่องไว ถือกำเนิดจากนางอัญจนา ราชินีลิง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดโดยเทพเจ้า เป็นผู้ช่วย พระวิษณุ เมื่อครั้งอวตารเป็น พระราม สามารถเหาะได้ เนื่องจากพระบิดาคือ พระวายุ เทพแห่งลม กำเนิดของหนุมานสลับซับซ้อน กล่าวกันว่าพระบิดาของพระราม ได้จัดพิธีเพื่อของโอรส โดยให้มเหสีทั้งสามเสวยขนมองค์ละ ๑ ชิ้น นางไกษเกษี ซึ่งอ่อนชันษาที่สุด ได้รับขนมเป็นองค์สุดท้าย พระนางไม่ชอบขนมนี้ และเมินพระพักตร์นกเหยี่ยวเล็กจึงบินมาคว้าไป มันบินไปในป่า และพบ นางอัญจนา ซึ่งถูกสาปให้เป็นลิง กำลังสวดวิงวินขอบุตรอยู่ ดังนั้นนกเหยี่ยวจึงปล่อยขนม พระวายุก็พัดพาขนมไปตกที่มือของนาง จากนั้น พระศิวะ จึงปรากฎร่างต่อหน้านางและให้นางกินขนม เมื่อนางกิน จึงตั้งครรภ์หนุมานขึ้น ทันทีที่หนุมานเกิดก็มีอาการหิวทันที มารดาจึงไม่พอใจหนุมานนัก ครั้นเมื่อหนุมานเห็นดวงอาทิตย์คิดว่าเป็นผลไม้ จึงกระโดดตามไป ดวงอาทิตย์เคลื่อนหนี หนุมาน ก็ไล่ตามไปไกลจนถึงสวรรค์ของ พระอินทร์ พระอินทร์ทรงใช้วัชระขว้างใส่ขากรรไกรหนุมาน ทำให้หนุมาน หล่นลงมาบนโลก พระวายุ บิดาของหนุมานจึงแก้แค้นให้ โดยเข้าไปสิงอยู่ในร่างของเหล่าเทพเจ้า ทำให้เกิดอาการจุกเสียด พระอินทร์จึงต้องขอขมาพระวายุ และให้พรว่าหนุมานจะเป็นอมตะ (บางคัมภีร์ว่าพระรามให้พรหนุมานให้เป็นอมตะ)

โบราณจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มักจะสร้างเครื่องรางของขลังเป็นรูปหนุมาน ถือว่าเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ผสมผสานอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกันพุทธคุณคุ้มครองป้องกันภยันตราย คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด โชคลาภเมตตามหานิยมอย่างสูง มีอิทธิ์ฤทธิ์ ในด้านเสริมดวงแก้อาถรรพณ์ต่างๆที่เข้ามาขัดดวง ขัดวาสนาที่ทำให้การค้าไม่รุ่งไม่ดี ไม่ราบรื่น และเสริมความสำเร็จทุกประการ


              
         ภาพหนุมานแผลงฤทธิ์ ศิลปะต้นรัตนโกสินทร์ จากตำราท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร

การสร้างหนุมานแผลงฤทธิ์สิบกรครั้งนี้ มีที่มาจากสมุดข่อยของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ที่ได้รับการตกทอดสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงอาจารย์ วันชัย เชยนิ่ม ซึ่งอาจารย์ เกรงว่าตำราจะสูญสลายตามอายุและกาลเวลา ตำราดังกล่าวนี้อาจารย์จึงมอบให้พระปลัดตรีพรหมทำการคัดลอกเก็บไว้ ซึ่งต่อมาได้มีผู้รู้ให้ข้อมูลไว้ว่ารูปภาพต่าง ๆ ที่อยู่ในตำรานี้น่าจะถูกเขียนขึ้นโดยฝีมือช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาพระปลัดตรีพรหมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าตำราที่ได้รับการคัดลอกนั้นรูปแบบยันต์หนุมานแผลงฤทธิ์สิบกรมีความสวยงาม จึงมีความคิดที่สร้างเป็นวัตถุมงคลเครื่องรางขึ้น โดยจัดทำเป็นเหรียญหล่อด้วยเนือสัตตะโลหะและเนื้อเงินเท่านั้น


หนุมานแผลงฤทธิ์ วัดบรมวงศ์อิศรวราราม

การสร้างเนื้อสัตตะโลหะ อาจารย์วันชัย เชยนิ่ม จะจัดทำการผสมเนื้อโลหะขึ้นเอง โดยจะหลอมโลหะผสมที่วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร จากนั้นจึงจัดทำการส่งให้ช่างดำเนินการหล่อต่อไป
การหลอมโลหะผสมเพื่อให้ได้เนื้อสัตตะโลหะจะประกอบไปด้วยโลหะต่าง ๆ ด้วยกัน 7 ชนิด ได้แก่
1. เงิน
2. ทองคำ
3. ดีบุก
4. สังฆวานร
5. ทองแดง
6. พลวง
7. ตะกั่ว

สัตตะโลหะนิยมนำมาทำเป็นอาวุธที่ใช้ข่มอาถรรพ์ของศัตรู 

โดยเชื่อว่าอาวุธที่ทำด้วยสัตตะโลหะสามารถจะต่อสู้กับวิชาอาคม อยู่ยงคงกระพันฟันแทงไม่เข้าได้ ดังนั้นจึงคิดเอาสัตตะโลหะมาสร้างเป็นเหรียญหนุมานแผงฤทธิ์สิบกรเพราะหนุมานเป็นผู้ที่เกิดจากอาวุธเทพและเป็นทหารเอกของพระราม การสร้างสร้างเหรียญหนุมานแผลงฤทธิ์สิบกรที่ได้จากเนื้อโลหะข้างต้นยังมีการผสมแผ่น ยันต์ต่าง ๆ อีกที่ประกอบด้วย พระยันต์ 108, นะปถมัง 14 นะ ซึ่งเป็นชุดยันต์หล่อพระสายของอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร โดยได้รับการสืบทอดมาจากสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์, ยังมียันต์นะต่าง ๆ ของสายพระอาจารย์หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และ ยันต์นะต่าง ๆ สายอาจารย์เฮง ไพลวัลย์ และยันต์มหาจักรพรรดิ ที่เป็นยันต์สูงสุด จึงถือว่าการสร้างเหรียญหนุมานแผลงฤทธิ์สิบกรในครั้งนี้เป็นงานที่มีความพิถีพิถันจริงๆ


                  ช่อเหรียญหนุมานสัตตะโลหะ

ส่วนเนื้อเงินเหรียญหนุมานแผลงฤทธิ์สิบกรสร้างขึ้นตามลักษณะสีกายของหนุมานที่มีขนกายเป็นสีขาว จึงพิจารณาเห็นว่าการสร้างด้วยเนื้อเงินน่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด เสริมความสง่าราศรี ทรงภูมิฐานต่อผู้ภพเห็น
                        



ถ้าดวงไม่ดีทำอะไรก็ล้มเหลว สิ้นหวังไม่สำเร็จเสียเงินเสียทอง มีปัญหาการงานเจออุปสรรค์ ปัญหาเยอะทำดีที่สุดแต่ใครๆก็ไม่เข้าใจ"เขาว่าเกิดจากดวงมันไม่ดีให้บูชาหนุมาน เพราะว่า ในตำราทางอินเดียหรือรามเกียรติของอินเดียนั้น หนุมานได้เคยช่วยพระเสาร์และเหล่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย

พระเสาร์จึงให้คำมั่นสัญญากับหนุมานว่าจะคอยช่วยเหลือหนุมานเท่าที่ทำได้ และหากมนุษย์ผู้ใดบูชาศรีหนุมานแล้วไซร้จะไม่ต้องคำสาบของพระเสาร์ จะไม่ได้รับผลเสียจากพลังรัศมีของดาวเสาร์





ผ้ายันต์หนุมานแผลงฤทธิ์ ควรมีบูชาที่บ้าน
ซึ่งชุดหนุมานแผลงฤทธิ์ทั้งหมด ได้เข้าทำพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ ซึ่งในวันทำพิธีจะเกิดปรากฎการณ์ที่ดาวโคจรมาร่วมกันเป็นมหาศุภมงคลอย่างยิ่งในหลายประการ ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบนับร้อยปี และถ้าเปิดตำราครูบาอาจารย์ อธิบายได้ดังนี้
พิธีพุทธาภิเษกเหรียญหนุมานแผลงฤทธิ์

๑.ดาวเคราะห์จรมาร่วมราศีกันได้เกณฑ์ “คู่สมพลทั้ง ๔ คู่ พร้อมกัน” ในวันเดียวคือ
๑.๑ ดาวจันทร์และพระราหูจรมาร่วมกัน ณ ราศีกรกฏ ได้คู่สมพล คู่ที่ ๑ (จันทร์กำลัง ๑๕ + พระราหูกำลัง ๑๒ ได้ ๒๗)
๑.๒ ดาวพฤหัสบดีและดาวอังคารมาร่วมกัน ณ ราศีตุลย์ ได้คู่สมพล คู่ที่ ๒ (พฤหัสบดีกำลัง ๑๙ + อังคารกำลัง ๘ ได้ ๒๗)
๑.๓ ดาวอาทิตย์และดาวศุกร์มาร่วมกัน ณ ราศีพิจิก ได้คู่สมพล คู่ที่ ๓ (อาทิตย์กำลัง ๖ + ศุกร์กำลัง ๒๑ ได้ ๒๗)
๑.๔ ดาวเสาร์และดาวพุธมาร่วมกัน ณ ราศีธนู ได้คู่สมพล คู่ที่ ๔ (เสาร์กำลัง ๑๐ + พุธกำลัง ๑๗ ได้ ๒๗)
ดาวเคราะห์คู่สมพลนี้ให้คุณมาก โดยในดวงชาตาผู้ใดมีพระเคราะห์คู่สมพลและมีโยคเกณฑ์ที่ดี แม้เพียงแค่คู่เดียว ก็จะมีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู คุ้มโทษภัยได้ "ดาวคู่สมพลครบถึง ๔ คู่พร้อมกัน" ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างมาก !!!




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น