วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เครื่องรางนำโชค กับ ความเชื่อ

ความเชื่อเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมมาหลายยุค

ผ่านกาลเวลามากมาย ซึ่งลักษณะของความเชื่อ แบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ตามความเชื่อความศรัทธา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ประเพณี สังคม ท้องถิ่น การปกครอง ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้

บรมครูปู่ฤาษี

-ความเชื่อเรื่องโชคลาง เช่นความเชื่อเรื่องความฝัน ความเชื่อเรื่องลางบอกเหตุล่วงหน้า

-ความเชื่อเรื่องตำแหน่งของวัตถุและสถานที่ ซึ่งทางจีนเรียกว่าฮวงจุ้ย เช่นตำแหน่งการสร้างบ้าน การออกแบบบ้าน ทิศทาง และการวางวัตถุสิ่งของต่าง เชื่อว่าทำให้เกิดผลในทางบวกและลบในด้านต่างๆเป็นต้น

-ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม เชื่อกันว่ามีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิต ที่จำทำให้เกิดความสำเร็จ หรือล้มเหลว ความเชื่อเรื่องดวงชะตาราศี วันเดือนปีเกิด ดวงดาว วันสำคัญต่างๆ ล้วนมีความสำคัญมีอิทธิพลต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ

-ความเชื่อเรื่องชื่อและคำมงคล คนไทยเชื่อว่าชื่อที่มีความหมายไปในทางด้านต่างๆนั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตที่จะทำให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือเป็นไปในทางบวกหรือลบได้

-ความเชื่อที่แยกตามประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่นพระเพณีแห่นางแมวเพื่อขอฝน ประเพณีในวันสำคัญต่างๆ มากมายแยกไปตามท้องที่นั้นๆ

ความเชื่อเครื่องรางของขลังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจลี้ลับ

ความเชื่อความศรัทธานี้เองที่มีอิทธิพลสำคัญต่อจิตใจมนุษย์ และทำให้คนเรามีการแสวงหาสิ่งที่จะช่วยเหลือให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ดีงามเป็นคุณเป็นประโยชน์กับตัวเอง เว้นหรือหลีกเสียจากสิ่งซึ่งเป็นโทษหรือผลลบ โดยสิ่งใดที่ทำแล้วคิดว่าเป็นคุณก็มักจะเสาะแสวงหาหรือทำให้เกิด เพื่อหลบเลี่ยงผลในทางลบ เครื่องรางของขลังจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่คนเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำพามาซึ่งสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ให้กับตัวเองได้




ส่วน "เครื่องราง" เป็นสิ่งที่คู่กับสังคมมาช้านาน หากจะแยกความหมายสามารถแยกได้เป็นสองคำ สองความหมาย คำว่า “เครื่องราง” หมายถึงวัตถุที่เชื่อว่าให้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่เป็นคุณกับผู้ที่ครอบครอง และมีอิทธิพลต่อความเชื่อความศรัทธาต่อผู้ที่มีไว้ครอบครอง เช่น เครื่องรางหินนำโชค ผู้ที่มีไว้ก็เชื่อว่าหินนั้นจะให้ผลทางด้านโชคลาภ หรือเครื่องรางมังกรของจีน ก็เชื่อว่าให้ผลทางด้านการเสริมบารมีให้กับผู้ที่มีไว้ครอบครองเป็นต้น เครื่องรางจึงเป็นเป็นวัตถุเป็นสัญลักษณ์ความเชื่อของทุกชาติศาสนา และในทุกๆอารยธรรมดังมีหลักฐานปรากฏมากมาย เช่น เครื่องรางกรีกโบราณ เครื่องรางอียิป เครื่องรางจีน เครื่องรางฮินดู เครื่องรางเขมร เครื่องรางของไทยเป็นต้น


กุมารทอง 


" เครื่องรางของขลังไทย"

ประวัติความเป็นมาของเครื่องรางของขลังนั้นหากจะสืบหาที่มาที่ปรากฏเป็นหลักฐานก็เห็นปรากฏใน ตำราพิชัยสงราม ซึ่งเป็นหลักฐานที่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมาคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยมีบันทึกไว้ แม้แต่ในท้องถิ่นก็จะปรากฎเป็นหลักฐานเป็นตำราที่ทำจากใบลาน เช่นทางล้านนาจะเป็นคัมภีย์ใบลานเรียกว่า “ปั๊บสา” ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ทางล้านนา มักจะมีไว้เป็นสมบัติตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งตำราดังกล่าวนั้นจะเป็นตำราที่เขี่ยนด้วยอักขระโบราณ มีวิชาความรู้และสูตรเด็ดเคล็ดลับต่างๆ  เช่นสูตรยา และยังมีคาถา และสูตรยันต์ต่างๆ

ตำราคัมภีย์พระเวทย์โบราณ จะบันทึกถึงวิธีการสร้างเครื่องรางของขลัง ที่ให้คุณวิเศษในทางด้านต่างๆ  โบราณจารย์ส่วนใหญจะเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมวิเศษจะสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสงเคราะห์ ชาวบ้านเพื่อบรรเทาทุกข์ และให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และให้เป็นที่ยึดเหนี่ยว ให้ระลึกถึงคุณงามความดี หาใช่สิ่งงมงายตามที่คนขาดความรู้เข้าใจไม่

ในอดีต ท่านจะนำวัตถุที่เป็นมงคลมาแกะและลงอักขระเลขยันต์มีทั้ง เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี งาช้างดำ งากำจัด งากำจาย กะลาตาเดียว เขาควายเผือก เขากวางคุด เบี้ยจั่น พร้อมทั้งสัตตะโลหะต่างๆ และแผ่นทองคำ แผ่นนาก แผ่นเงิน แผ่นทองแดง แผ่นฝาบาตร แผ่นตะกั่วดีบุก แผ่นหน้าผากเสือ แผ่นหนังควาย แผ่นหนังกระเบน แผ่นผ้า พร้อมทั้งกระดาษสา สีผึ้ง น้ำมันหอม สายสิญจน์ ตะปูโลงผี ไม้กาฝากต่างๆ ที่เป็นมงคลนาม และผงพุทธคุณ ลูกไม้มงคล และได้แกะเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น

             พ่อปู่ฤาษี แม่นางกวัก รักยม กุมาร หุ่นพยนต์ อิ้น คชสิงห์ ราชสีห์ สิงห์ เสือ หมูโทน หนุมาน ลิง องคต ควายธนู พญาเต่าเรือน แพะ ตะเข้ จิ้งจก ตุ๊กแก ลูกอม ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ มีดหมอ ไม้ครู ตะกรุด พระขรรค์ ปลัดขิก ประคำ หมากทุย พิสมรใบลาน แหวนพิรอด กระดูกแร้ง กระดูกห่าน สาลิกา ปลาตะเพียน และของทนสิทธิ์ต่างๆ ตามแต่ที่ท่านจะจินตนาการและสำเร็จในญาณสิ่งนั้นๆ

             กรรมวิธีการที่จะสร้างเครื่องรางของขลังของแต่ละพระคณาจารย์นั้นๆ ของแต่ละองค์ไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านต้องดูฤกษ์ผานาทีที่ไม่ใช่วันดับวันสูญ ท่านต้องดูวันแข็ง วันครู วันมงคลฤกษ์ วันเสาร์ห้า ส่วนมากท่านจะลงวันไตรมาสสามเดือนครบหนึ่งไตรมาส (เข้าพรรษา) พอวันออกพรรษาก็ให้ลูกศิษย์มารับ แต่ข้อสำคัญที่สุดคือวันเข้าพรรษาจะไม่ปลุกเสก วันออกพรรษาก็จะไม่ปลุกเสก วันกระทิงวันก็จะไม่ปลุกเสก ถือว่าเป็นวันดับและวันสูญไม่บังควรปลุกเสกพระเครื่อง พร้อมทั้งเครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นต้น









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น